คอมเพรสเซอร์แอร์ มีกี่แบบมาทำความรู้จักกัน



ปัจจุบันนี้แอร์ (เครื่องปรับอากาศ) ถือว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักในการใช้ชีวิตไปแล้วยิ่งในเมืองใหญ่จำเป็นจะต้องติดตั้งเครื่องปรับอากาศภายในบ้านเรือนที่พักและอาคารต่าง ๆ ด้วยปัจจุบันโลกร้อนขึ้นทำให้แอร์มีความจำเป็นมาก ๆ ซึ่งหากเราไม่ติดตั้งแอร์ภายในอาคารเราจะไม่สามารถอยู่อาศัยอย่างมีความสุขได้ ดังนั้นวันนี้จะพาเพื่อน ๆ มาทำความรู้จักส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศที่สำคัญมาก ๆ ถือว่าเป็นหัวใจของเครื่องปรับอากาศเลยก็ว่าได้ปัจจุบันเครื่องปรับอากาศมีให้เราเลือกมากมายหลายแบบหลายรุ่นหลายยี่ห้อ การที่แอร์จะทำความเย็นได้นั้นจำเป็นจะต้องมีอุปกรณ์ขับแรงดันน้ำยาเพื่อให้ไหลไปตามท่อเพื่อส่งความเย็นเข้าไปภายในห้องพักเราเรียกอุปกรณ์นี้ว่า คอมเพรสเซอร์ ซึ่งหลักการก็เหมือนการทำงานของหัวใจที่คอยสูบฉีดน้ำยาให้กับเครื่องปรับอากาศ เจ้าคอมเพรสเซอร์แอร์มีหลากหลายแบบหลากหลายขนาด เราไปดูกันเลยว่ามีแบบไหนกันบ้าง หากแบ่งตามลักษณะโครงสร้างเราจะแบ่งได้ 3 แบบ ดังนี้

  • 1. คอมเพรสเซอร์แบบเปิด (Open Type Compressor)
  • 2. คอมเพรสเซอร์แบบกึ่งปิด (Semi Hermetic Compressor)
  • 3. คอมเพรสเซอร์แบบปิด (Hermetic Compressor)

แบ่งตามวิธีการอัด มี 6 แบบ

  • 1. คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ (Reciprocating Type Compressor)
  • 2. คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่ (Rotary Type Compressor)
  • 3. คอมเพรสเซอร์แบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Centifugal Type Compressor)
  • 4. คอมเพรสเซอร์แบบสวอชเพลท (Swash Plate Type Compressor)
  • 5. คอมเพรสเซอร์แบบก้นหอย (Scroll Type Compressor)
  • 6. คอมเพรสเซอร์แบบสกรู (Screw Type Compressor)

1. คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ (Reciprocating Type Compressor)

เป็นคอมเพรสเซอร์ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ใช้ในเครื่องทำความเย็นขนาดเล็กและขนาดใหญ่ หลักการทำงานจะเหมือนกับลูกสูบรถยนต์ ภายในจะประกอบด้วยลูกสูบ แรงอัดสูงแต่มีข้อเสียคือเสียงดังและมีการสั่นสะเทือนสูง จะพบในตู้เย็นตู้แช่ ซะส่วนใหญ่

2. คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่ (Rotary Type Compressor)

เป็นคอมเพรสเซอร์ที่นิยมใช้กับเครื่องปรับอากาศภายในบ้าน ข้อดีคือเสียงเงียบ การสั่นของตัวเครื่องน้อย

3. คอมเพรสเซอร์แบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Centifugal Type Compressor)

เป็นคอมเพรสเซอร์ที่นิยมใช้ในเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 50 ตันบีทียู ขึ้นไป โดยลักษณะการทำงานจะอาศัยการหมุนของใบพัดหมุนทำให้เกิดแรงเหวี่ยงอัดและดูดน้ำยา พบตามห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ

4. คอมเพรสเซอร์แบบสวอชเพลท (Swash Plate Type Compressor)

เป็นคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบแต่ลักษณะจะต่างจากชนิดแรกโดยโครงสร้างภายในต่างกัน โดยลูกสูบแบบสวอชเพลทจะวางในแนวนอนไม่ต้องใช้เพลาข้อเหวี่ยง จะเจอในเครื่องปรับกาศรถยนต์เป็นหลัก

5. คอมเพรสเซอร์แบบก้นหอย (Scroll Type Compressor)

เป็นคอมเพรสเซอร์ชนิดใหม่ที่ออกแบบให้มีการทำงานนุ่มนวลลดการสั่นทำให้การทำงานเงียบ พบในแอร์ขนาดกลาง มีกำลังแรงอัดที่สูงขึ้น

6. คอมเพรสเซอร์แบบสกรู (Screw Type Compressor)


เป็นคอมเพรสเซอร์ที่มีโครงสร้างภายในเป็นแบบเกลียวตัวผู้และตัวเมียขบกันเมื่อหมุนจะทำให้เกิดการขับของเหลว พอเจอในเครื่องปรับขนาดใหญ่ในโรงงานต่าง ๆ

Click to rate this post!
[Total: 3 Average: 4]

Leave a Reply

Your email address will not be published.